การดูแล และปัญหาลำไย 

สวัสดีครับสมาชิก ปีนี้ลำไยที่ภาค เหนือและภาคตะวันออกราคาดีมาก  ส่งผลให้เกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตรของกิฟฟารีน มากขึ้น  บริษัทกิฟฟารีนของเรามีความ
ชำนาญในการใช้ปุยกับลำไยมาก ในการส่งเสริมให้ลำไยออกดอกดีขึ้น&การบำรุงผลทำให้ลำไยผลใหญ่ ลูกเสมอ น้ำหนักดี

วันนี้มิสเตอร์เกรทกรีน มีความตั้งใจให้สมาชิกและเกษตรกรได้เข้าใจ  การใช้ปุ๋ยทางใบ และวิธีการทำลำไย ให้ได้ผล จึงขอให้ฝ่ายวิชาการเกษตร  สรุปข้อมูลดังนี้ครับ

การบำรุงใบลำไย
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลำไยต้องแตก
ใบ 2-3 ชุด ถึงจะพร้อมออกดอก ที่สำคัญ
ใบชุดแรกต้องทำให้แตกใบอ่อนพร้อมกัน
โดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยทางดินสูตร 25-7-7
และเสริมด้วยการพ่นปุ๋ยทางใบ ใช้โกรแม็กซ์
สูตร 30-10-10 และหลังจากใบเพสลาด 2
อาทิตย์ พ่นด้วยโกรแม็กซ์สูตร 620-30 จะ
ทำกิ่งอ้วนขึ้น ลดความอวบของต้น ทำให้มี
ความพร้อมต่อการออกดอกมากขึ้น



ส่วนใบชุดสุดท้ายก่อนออกดอก การใส่ปุ๋ย
และการบำรุงต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าใบใหญ่
มากเกินไปหรือบำรุงปุ๋ยผิดสูตร จะส่งผลทำ
ให้ลำไยไม่ค่อยออกดอก เนื่องจากใบเบียด
กันทำให้การสังเคราะห์แสงของใบน้อยลง
ส่งผลให้อาหารสะสมน้อยลง ไม่เพียงพอใน
การสร้างตาดอก

สำหรับใบอ่อนชุดสุดท้ายใช้โกรแม็กซ์สูตร
20-20-20 จะดีที่สุด เพราะ เป็นปุ๋ยที่มีเกรดสูง มีอาตุอาหารรองและเสริมสูง ทำให้ลำไยมีความพร้อมในการออกดอกมากขึ้น) 

ส่วนปุ๋ยทางดินควรใช้สูตร 8-24-24
ในระยะใบอ่อนเริ่มกางหรือก่อนใบเพสลาด
10 วัน ถ้าเกษตรกรต้องการตกแต่งกิ่งภายใน ทรงพุ่ม ควรแต่งกิ่งก่อนพ่นสาร 1 เดือน

การพ่นสารและการสะสมอาหารเพื่อการออก ดอก
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไย
เพื่อให้ลำไยออกดอกนั้น เกษตรกรมีการใช้
3 วิธี คือ
1. ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตผสมน้ำราด
รอบทรงพุ่ม
2. ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 10 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นรอบทรงพุ่ม และ


ใช้สารที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายของโพแทสเซียมคลอเรต กิฟฟารีนใช้เทอร์โบ
ไทโอแม็กซ์ 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร หรือ
เทอร์โบแม็กซ์ 1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร
ช่วยในการเคลื่อนย้าย

3. ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 2 ขีด ต่อน้ำ
200 ลิตร พ่นที่ใบและใช้สารที่ช่วยลด
ความเป็นพิษของโพแทสเซียมคลอเรต
ต่อใบลำไย กิฟฟารีนใช้โกรแม็กซ์สูตร
10-52-17 อัตรา 3 ขีด/น้ำ 200 ลิตร
ช่วยป้องกันใบ

โดยวิธีใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไย
ที่น่าจะเหมาะสมเป็นวิธีที่ 2 ซึ่งใช้การพ่นสาร
โพแทสเซียมคลอเรตลงดิน

สนใจสั่งซื้อปุ๋ยกิฟฟารีน  
ลงทะเบียนสมัครสมาชิก ตลอดชีพ 
รับส่วนลด 25%ทันที & Cashback
ระยะใบที่เหมาะสมในการพ่นโพแทสเซียมคลอเรต
  • พ่นสารที่ระยะใบเขียวเข้ม หลังจากใบเพสลาด 1 อาทิตย์
      ใบระยะเพสลาด ควรพ่นท๊อป-เค 0-0-25 เพื่อทำให้ใบหนา ใบแก่พร้อมกัน และทนสารมากขึ้น หลังจากพ่นสารแล้ว ควรพ่นต่อเนื่องอีก 23 ครั้ง จนถึงระยะดอกเริ่มพัฒนา ถ้าพ่น สารระยะนี้ประมาณ 25 วัน ดอกเริ่มออกส่วนมากดอกออกเป็นช่อสะเดา หรือถ้ามีการแตกใบอ่อนพร้อมดอก ใบอ่อนก็ไม่แรง การราดสารในระยะนี้เหมาะมากในฤดูฝน

  • พ่นสารที่ระยะใบแก่หลังจากใบเพสลาด 3 อาทิตย์
       ใบระยะเพสลาด ควรพ่นท็อป-เค 0-0-25 ทุก 7-10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง ถ้าพ่นสาร ในระยะใบแก่ประมาณ 10 วัน ดอกเริ่มออกส่วนมากดอกออกเป็นใบอ่อนแซมดอก เมื่อ
ใบอ่อนเริ่มกาง จำเป็นต้องพ่นโกรแม็กซ์สูตร6-20-30 คลุมใบอ่อน 2-3 ครั้ง การราดสาร ในระยะนี้เหมาะมากในฤดูแล้ง
การให้น้ำ:

การให้น้ำหลังพ่นสาร โพแทสเซียมคลอเรต ควรให้น้ำมากติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นให้น้ำน้อย และเพิ่มขึ้นตอนดอกเริ่มออก และให้น้ำน้อยอีกครั้งตอนดอกเริ่มบาน

ปัญหาที่พบในช่วงออกดอก

ในช่วงฝนตกดอกไม่ค่อยแข็งแรง ควรใช้ยาเชื้อราและโบโรแคล พ่นตอนดอกบาน 5%
หรือเริ่มบาน โดยพ่นเป็นละอองปลิวเข้าดอก เพื่อจะทำให้ดอกแข็งแรง ติดดีขึ้น
ในช่วงลมแรงควรใช้ เจอมิเนท หรือ ท็อปเอ็น 
จะทำให้ดอกสดขึ้นทนต่ออากาศที่เปลี่ยนแปลง

การทำให้ลำไยขึ้นลูกดี ติดผลเสมอ และเปลือกหนา
ใช้ โบโรแคล กับท็อปเอ็น (เป็นปุ๋ยเทคโนโลยีสูง ที่ทำให้ไนโตรเจนอยู่ในรูปค่อย ๆปลดปล่อย)พ่นระยะดอกเริ่มโรย จะทำให้ลูกที่ไม่แข็งแรงร่วง 

ส่วนลูกที่แข็งแรงจะพัฒนาดีขึ้น ควรใช้ต่อเนื่องอีก 23 ครั้ง จะทำให้ลำไยเปลือกหนา ส่งผลทำให้ลูกใหญ่ ลูกโต และติดผลไม่เป็นกระจุก

การเร่งการเจริญเติบโต
ระยะเม็ดในเริ่มดำ ควรพ่นปุ้ยโกรแม็กซ์ สูตร 20-20-20 (ปุ๋ยเกรดสูง และใส่ธาตุอาหาร
รองและเสริมสูง วิตามิน B1 เร่งราก) ทำให้ลำไยระยะนี้โตเร็ว ขยายผลดีมาก

การเร่งสีและเพิ่มน้ำหนัก

ระยะก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ควรพ่นปุ้ยโกรแม็กซ์สูตร 6-20-30
(ปุ๋ยตัวท้ายสูงและกำมะถัน) ทำให้ลำไยมีน้ำหนักและสีสวย

ปุ๋ยทางดิน

- บำรุงใบระยะหัวไม้ขีดลูกเล็กใช้สูตร 25-7-7
- ระยะมะเขือพวงใช้สูตร 21-7-14
- ระยะเม็ดในดำใช้สูตร 10-5-30
(โดยปุ๋ยดิน สามารถลดปริมาณลงได้ 40-50%จากเดิม ขึ้นอยู่กับสภาพต้น) 
ผมหวังว่าสมาชิกและเกษตรกร จะนำความรู้จากข้อมูลดังกล่าวไปใช้ใน
การแนะนำหรือทำลำไยให้ได้ผลมากที่สุด สุดท้ายขอฝากสูตรลำไยของบริษัท
ที่ใช้ในการแนะนำด้วยครับ

การใช้ผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยใบกิฟฟารีน กับ ลำไย /ลิ้นจี่ 
ระยะแตกใบอ่อน หรือ ดึงใบอ่อน 
หมายเหตุ: ฉีดพ่น ทุก 10-15 วัน สามารถผสมกับกิฟฟารีน ไอออน อัตรา 1/2 ช้อนตวง (2-3กรัม) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1 ครั้ง เมื่อแตกใบอ่อนแล้ว 
ควรฉีดยาฆ่าเพลี้ยตามความจำเป็น เมื่อผสมหลายชนิดให้ ลดประมาณปุ๋ยโกรแม็กลง ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตร 21-7-14 หรือ 25-7-7 ผสมเทอร์โบแม็ก  อัตราปุ๋ยดิน 3 กส. ต่อเทอร์โบแม็ก  1 กส. เพื่อเพิ่มความเขียวหลังจากแตกใบอ่อนแล้ว 30 วัน เปลี่ยนสูตรปุ๋ยจาก 30- 10-10เป็น 15-15-15 อัตราเดิม ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน แล้วใช้ปุ๋ยโกรแม็กสูตร 10-52 - 17 หรือ 6-20-30 อัตราเดียวกัน ฉีดสะสม 1 ครั้ง ก่อนดึงใบอ่อนชุดที่ 2
ระยะสะสมอาหาร เพื่อออกดอก
หมายเหตุ: ฉีดพ่นทุก 7 วัน ส่วนปุ๋ยทางดินใส่ เมื่อใบเพสลาด ใส่ 8-24-24 หรือ 9 -24-24 หรือ 12- 12- 17 สามารถผสม เทอร์โบแม็ก ในอัตราเดิม (3 : 1) ใส่เมื่อใบเพสลาด (ใบใหญ่เต็มที่เริ่มเปลี่ยนสี) รดน้ำให้ปุ๋ยละลายให้หมด หลังจากนี้ควรงดน้ำ ถ้ามีการราดสารควรราดหลังจากใส่ปุ๋ยเร่งดอกแล้วระยะหนึ่ง
ระยะแทงช่อดอก
เมื่อเริ่มแทงช่อดอก เริ่มให้น้ำจากน้อย  สามารถผสมเจอร์มิเนท อัตรา 10-20 ซีซี เพื่อช่วยให้การออกดอกสมบูรณ์ และออกพร้อมๆ กัน ควรพิจารณาผสมยาฆ่าเพลี้ย -หนอน
ระยะติดผลเล็ก 
หมายเหตุ: ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน ควรผสมไบรท์กรีน 3 ซีซี.
เพื่อบำรุงใบ
   อายุของผลลำใย จะยาวกว่าลิ้นจี่ ฉีดสูตร ขยายผลให้ฉีดลำใยตั้งแต่ดอกโรยถึง 4 เดือน 
ส่วนลิ้นจี่ ฉีดตั้งแต่ติดผลเล็ก ถึง 75 วัน
ปุ๋ยทางดิน ให้สูตร 21-7- 14 หรือ 14-9-20 ในระยะแรก สามารถผสม เทอร์โบแม็ก ในอัตราเดิม (3: 1) ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาเชื้อราตามความจำเป็น
ระยะผลโต 
หมายเหตุ: ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน ควรผสมไบรท์กรีน 3 ซีซี
เร่งสี เร่งความหวาน 
หมายเหตุ: ฉีด 2 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 
สนใจสั่งซื้อปุ๋ยกิฟฟารีน  
ลงทะเบียนสมัครสมาชิก ตลอดชีพ 
รับส่วนลด 25%ทันที & Cashback