วิธีการใช้ปุ๋ยใบกิฟฟารีน กับ การทำเงาะต้นฤดู

Green Trip: เงาะต้นฤดู ออกไวได้ราคา 
มิสเตอร์เกรทกรีน :

มิสเตอร์เกรทกรีน : สวัสดีครับ เพื่อนๆกิฟฟารีนเกษตร ทุกท่าน ผมจะพาไปเยี่ยมสวนเงาะที่เก็บต้นฤดู ในอำเภอเมืองแกลง จังหวัดระยอง เงาะที่สวนนี้จะ ออกต้นฤดู เกษตรกรขายได้ราคาอย่างมาก โดย คุณปราโมทย์ ประกอเข้ามาแนะนำ และดูแลคุณปริศนา คุณปราโมทย์ แนะนำ อย่างไรบ้างครับ?

คุณปราโมทย์ : สวนของคุณปริศนาใช้ผลิตภัณฑ์ กิฟฟารีนมา 3 ปีแล้วครับ ผมดูแลและติดตามมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าของสวนนี้เป็นคนที่ชอบ ศึกษาข้อมูล ทั้งการใช้ปุ๋ย และการจัดการ (เช่นการตัดแต่ง ควบคุมทรงพุ่มเงาะและมังคุด 

ที่สวนนี้จึงใช้เป็นที่อบรมการแต่งกิ่งเงาะและมังคุด ของชาวสวน)  เมื่อผมนำข้อมูลการใช้ปุ๋ยของกิฟฟารีนมานำเสนอ เจ้าของสวนยินดีอย่างมาก มีการใช้และปรับสูตร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 

นอกจากการใช้ปุ๋ยกับเงาะ แล้ว ยังใช้ ปุ๋ยกิฟฟารีนกับมังคุด ทุเรียน กล้วย และผักสวนครัว ข่า ตะไคร้ ข้าวโพด ทุกพืช ได้ผลดีครับ

มิสเตอร์เกรทกรีน : ขอบคุณมากครับ ผมขอสอบถามข้อมูลจากคุณปริศนากันบ้างครับ เงาะที่สวนมีทั้งหมดกี่ไร่ งาะต้นฤดูมีขั้นตอนการปลูกและดูแลอย่างไร ทั้งการใช้ปุ๋ยกิฟฟารีน การจัดการทั้งหมดครับรวมถึงความประทับใจเมื่อใช้ปุ๋ยกิฟฟารีน

คุณปธิศนา : เงาะที่สวนนี้มี 12 ไร่ มีประมาณ 90 ต้น อายุ 40 ปี ขายผลผลิตได้ประมาณ 700,000 บาท เฉลี่ยแล้วได้ต้นละประมาณ 250 กิโลกรัม 

เงาะที่เก็บชุดแรก ราคาจะสูงถึง 50-70 บาท แล้วแต่ปี ปีนี้ราคาต้นปีดีมาก ราคาเริ่มที่ 70 บาทต่อกิโลกรัม แต่ ขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท 

สนใจสั่งซื้อปุ๋ยกิฟฟารีน  
ลงทะเบียนสมัครสมาชิก ตลอดชีพ 
รับส่วนลด 25%ทันที & Cashback


หลักการทำเงาะ ต้นฤดู
🌳ทำใบให้เร็วให้พร้อม 
หลังเก็บผลผลิตเสร็จ รีบแต่งกิ่ง และเมื่อเริ่มแตกยอดใส่ปุ๋ยทางดิน พ่นปุ๋ยทางใบ 

🌳การตัดแต่งกิ่ง
ที่สวนจะคัดกิ่งที่สมบูรณ์เอาไว้ ตัดกิ่งกระโดงออก และตัดกิ่งใหญ่บางกิ่งออก กิ่งที่ทับซ้อนกันแน่นทึบกันเกินไป กิ่งเก่า กิ่งแก่ กิ่งที่ไม่ค่อยมีใบเหล่านี้ เราต้องเปิดให้โล่ง แสงจะได้ส่องผ่านได้ ถ้าเราไม่ตัดแต่งกิ่งถ้าเงาะมีทรงพุ่มทึบ หนาแน่นเกินไป เงาะจะไม่ค่อยแตกใบอ่อน และไม่ออกดอก

🌳ทำใบให้สมบูธณ์ 2 ชุด
ที่สวนต้องทำใบเงาะให้ได้ 2 ชุด ซึ่งช่วยให้เงาะออกดอกได้ง่ายขึ้นออกดอกช่อใหญ่ เน้นการพ่นปุ้ย สูตร 20-20-20 ทางใบ ช่วงแตกใบอ่อน1-2 ครั้ง ทำให้แตกใบอ่อนพร้อมกัน และใบโตเร็ว จากนั้นพ่นปุ๋ยตัวท้ายสูง 6-20-30 เพื่อเร่งใบแก่

🌳เตรียมใบให้ทันเวลา
ช่วงประมาณ 20 กันยายน ใบต้องอยู่ในระยะเพสลาด ใบโตเต็มที่พร้อมใส่ปุ๋ยสะสมอาหารทั้งทางดินและใบ โดยทางดินใข้ปุ๋ยเคมีสูตร
8-24-24 ทางใบใช้ 6-20-30 และ 10-52-17


🌳การให้น้ำในช่วงสะสมอาหาร และเริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน

หลังจากสะสมอาหารจะให้น้ำน้อย แค่พออยู่ ซึ่งส่วนมากจะ ไม่ค่อยให้น้ำเลย เมื่ออากาศเหมาะสม เริ่มมีลมหนาว ลมโยกเข้ามา ทำให้เงาะใบล่างเริ่มเหลือง เงาะจะเริ่มสร้างตาดอก เมื่อเรามั่นใจว่าเงาะเริ่มออกดอก แล้ว จะปล่อยน้ำมากๆ และหลังจากนั้นดอกเริ่มเดิน ให้น้ำอ่อนๆ (ในช่วงที่ดอกเงาะเริ่มเดิน 

ถ้าช่อดอกเงาะไม่เป็นดอก สร้างไข่ปลาแต่เปลี่ยนเป็นใบ ก็ให้งดน้ำอีก รอจนดอกเงาะสร้างไข่ปลาใหม่ถึงให้น้ำ 

การให้น้ำ ที่สวนให้น้ำเยอะ จะให้น้ำเป็นชั่วโมง ให้ปกติ 45 นาที ให้น้ำน้อย 25 นาที)
การให้ปุ๋ยทางใบกิฟฟารีน กับเงาะ 
พ่นไม่เกิน 2 ครั้งห่างกัน 10 วัน ในช่วงใบอ่อน 20-20-20 ถ้าพ่นบำรุงมากเกิน 2 ครั้งต่อ 1 รอบใบ จะทำให้เงาะใบงามเกิน ออกดอกยาก  
ต้นทุนปุ๋ย 930 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 
 ระยะเร่งใบแก่ จะพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน10 วัน ในช่วงใบอ่อน  
ต้นทุนปุ๋ย 817 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 
ระยะสะสมอาหาร จะพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน 
ต้นทุนปุ๋ย 1632 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 

       พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน หลังจากนั้นให้สังเกตดูเงาะ จะเริ่มใบล่างเหลืองร่วง ประกอบกับมีลมโยก เงาะจะเริ่ม เห็นไข่ปลาชัด จะเริ่มให้น้ำมากๆ และควบคุมน้ำ ต้นทุนปุ๋ย 960 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 

ระยะดอกก้างปลา พ่น 2 ครั้งห่าง 7 วันดอกจะเริ่มบาน 
ต้นทุนปุ๋ย 1538 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 
       ระยะนี้จะพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน ครั้งที่ 2 และ 3 โดยจะเพิ่มปุ๋ยโกรแม็กซ์ 15-15-15 เป็น 2.5 กิโลกรัม 
ต้นทุนปุ๋ย 1917-3255 บาท/1000ลิตร ต่อรอบ 



ระยะสร้างเนื้อ พ่น 2-3 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน 
ต้นทุนปุ๋ย 1069บ./1000ลิตร/ครั้ง 
ระยะเร่งสี ทำน้ำหนัก พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน
ต้นทุนปุ๋ย 1037บ./1000ลิตร/ครั้ง 
การให้ปุ๋ยดิน
      
🌳ความประทับใจ : ใช้แล้วทำให้เงาะออกต้นฤดูมากขึ้น น้ำหนักดี
แม่ค้าชอบเพราะเมื่อนำเงาะไปขาย ขนไม่ดำ ได้ราคามากกว่าเงาะทั่วไปประมาณ 1-2 บาท / กิโลกรัม 

เงาะที่สวนช่อดอกยาว ดอกโต เมื่อดอกบานแล้วขึ้นลูกง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาการขึ้นลูก และที่สำคัญ ไม่มีปัญหาผลแตก
มิสเตอร์เกรทกรีน : ข้อมูลดีมากครับ ฟังแล้วเข้าใจหลักการทำ
เงาะต้นฤดูมากขึ้น ผมหวังว่าข้อมูลจากสวนคุณปริศนาจะมีผลทำให้
เกษตรกรทำเงาะต้นฤดูได้ทุกสวนครับ ผมขอขอบคุณ คุณปริศนา
ฐิตะฐาน เจ้าของสวน, คุณปราโมทย์ ประกอบกิจ-คุณไพลิน
มุกดาสนิท มากครับ แล้วพบกันใหม่ กับเงาะปลายฤดู ครับ


สนใจสั่งซื้อปุ๋ยกิฟฟารีน  
ลงทะเบียนสมัครสมาชิก ตลอดชีพ 
รับส่วนลด 25%ทันที & Cashback