วิธีการใช้ปุ๋ยใบกิฟฟารีน กับ การทำเงาะปลายฤดู

มิสเตอร์เกรทกรีน : สวัสดีครับ สมาชิกทุกท่าน เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา เราได้เยี่ยมชมสวนเงาะต้นฤดูไปแล้ว สมาชิกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และ มีสมาชิกได้นำข้อมูลจากวารสารเส้นขอบฟ้า การทำเงาะต้นฤดูไปเสนอเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรให้การตอบรับปุ๋ยกิฟฟารีนเป็นอย่างดี ในฉบับนี้ผมจึงขอพาไปเยี่ยมสวนเงาะปลายฤดูที่ ต.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี โดย คุณสมบูรณ์ - คุณรัชนี 
เป็นผู้ที่พาเยี่ยมสวนของ คุณนฤมล ชิตเจริญอยู่

คุณรัชนีแนะนำปุ๋ยกิฟฟารีนกับคุณนฤมลอย่างไรบ้างครับ?

คุณธัชนี : เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ดิฉันมีความต้อง การขยายงานสินค้ากลุ่มการเกษตร แต่ตอนนั้นไม่รู้ จะเริ่มอย่างไร เพราะยังไม่ค่อยมีความรู้ในสินค้ากลุ่มเกษตร จึงได้ติดต่อให้ คุณภิรมย์ ลินลา นักวิชาการ
เกษตรของบริษัทมาแนะนำคุณนฤมลเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยกับลำไย ซึ่งคุณนฤมลปลูกลำไยจำนวนมาก พอทำลำไยสำเร็จจึงค่อยๆ นำปุ๋ยกิฟฟารีนมาใช้กับเงาะ ซึ่งเดี๋ยวนี้การทำเงาะปลายฤดูประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากค่ะ

มิสเตอร์เกรทกรีน : ขอบคุณมากครับ ผมชื่นชม ความสำเร็จในการส่งเสริมการเกษตรของคุณรัชนีมากครับ ขอสอบถามข้อมูลจากคุณนฤมลบ้างนะครับ มีพื้นที่ปลูกเงาะทั้งหมดมีกี่ไร่ เงาะปลายฤดูมี
ขั้นตอนการดูแลอย่างไร อีกทั้งการใช้ปุยกิฟฟารีน การจัดการทั้งหมด รวมถึงความประทับใจที่ใช้ปุ๋ยกิฟฟารีนครับ

คุณนฤมล : เงาะที่สวนมีประมาณ 20 ไร่ จำนวน330 ต้น อายุประมาณ 15 ปี ทรงพุ่มเงาะกว้างประมาณ 3-4 เมตร ผลผลิตได้ประมาณ 40 ตัน เฉลี่ยได้ผลผลิต 120 กิโลกรัม/ต้น เงาะราคาประมาณ18 บาท

หลักการทำเงาะ ปลายฤดู
          การทำเงาะปลายฤดู ต้องให้เงาะออกดอก ประมาณ 15-20 มีนาคม และเก็บเกี่ยวปลาย กรกฎาคม แต่งกิ่งภายในทรงพุ่มออก แต่งต้นให้โปร่ง แต่ไม่ควรแต่งปลายกิ่ง เน้นให้แสงส่องมาถึงด้านล่างให้อากาศถ่ายเทให้ดี ใส่ปุ๋ยทางดินบำรุงต้น เมื่อเริ่มแตกใบอ่อน และพ่นปุ๋ยทางใบ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ฝนหมดแล้ว ต้องคอย

ดูแลต้นเงาะไม่ให้โทรมเกินไป และไม่ให้ออก ดอกก่อน โดยที่สวนต้องคอยควบคุมการให้ น้ำเงาะ ต้นเงาะต้องอยู่ในสภาพเหี่ยวเล็กน้อย แต่ต้นต้องไม่โทรมเกินไป ถ้าเริ่มเหี่ยวมาก จะให้น้ำน้อยภายในทรงพุ่ม เพื่อไม่ให้เงาะโทรมจนเกินไป ถ้าเงาะโทรมมากเกินไป จะไม่ค่อยออกดอก ดังนั้น ที่สวนจึงทำใบให้ได้ 2-3 ชุด เพื่อให้ทนต่อการกักน้ำยาวนาน ถ้าทำใบไม่ได้ ใบจะร่วง เงาะไม่ค่อยสมบูรณ์
หลังจากนั้นเมื่อได้เวลาประมาณกลางเดือนมีนาคม จะให้น้ำเต็มที่เพื่อให้ดอกเดิน เมื่อดอกเดินเห็นชัด จะพ่นปุ้ยบำรุงช่อดอกค่ะ



 
🌳การควบคุมน้ำให้เงาะออกดอก
การให้น้ำจะอัดน้ำเต็มที่ วันเว้นวัน ล็อกละ1 ชั่วโมง ประมาณ 2-3 ครั้งจะเห็นดอกชัด หลังจากนั้นลดน้ำลง 3 วัน/ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง
🌳การใส่ปุ๋ยทางดินบำรุง
หลังเก็บผลผลิต เริ่มแตกใบอ่อน ใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร
16- 16-16 ผสมเทอร์โบแม็ก อัตรา 50 ต่อ 5 กิโลกรัม นำไปใส่
ต้นละ 1 กิโลกรัม และที่สวนจะไม่ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเร่งดอก
  • ระยะดอกเริ่มเดิน ให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 0.5 กิโลกรัมเพราะที่สวนเป็นดินทราย
  • ระยะดอกเริ่มโรย ใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัมผสมสูตร 15-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัม ผสมกันแล้วใส่ต้นละ1 กิโลกรัม
  • ระยะก่อนเงาะเข้าเนื้อ ใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 0.5 กิโลกรัม
  • ระยะก่อนเก็บ ให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัมผสมสูตร 13- 13-21 อัตรา 50 กิโลกรัม และผสมเทอร์โบ-ไทโอแม็ก 0.5 ลิตร ใส่ต้นละ 0.5 กิโลกรัม
ความประทับใจ ปุ๋ยกิฟฟารีน 
  • ปุ๋ยกิฟฟารีนช่วยการทำเงาะปลายฤดูได้สำเร็จ เงาะแตกใบอ่อนพร้อมกัน แตกเสมอและใบแข็งแรง ทนต่อความแห้งแล้งทำให้ต้นไม่โทรมเกินไปในช่วงกักน้ำ 
  • ช่อดอกแข็งแรง ทนอากาศร้อน
  • พลิกลูกดี ขึ้นลูกง่าย ช่วงเงาะระยะพลิกลูก ใช้ท็อปเอ็นและ เจอร์มิเนท ทำให้การขึ้นลูกของเงาะไม่ค่อยมีปัญหา ขึ้นลูกง่ายหรือไม่เป็นขี้คลอก โดยใช้ท็อปเอ็น + เจอร์มิเนท +โบโรแคล พ่น 2 ครั้ง ทำให้ขึ้นลูกดี
  • เงาะเปลือก ไม่แตก เงาะไม่ยิ้มในระยะสร้างเนื้อ ซึ่งจะตรงกับฝนชุกพอดี พื้นที่ปลูกเงาะแถวตำบลจันทเขลมจะเป็นดินทรายและเป็นเงาะปลายฤดู สวนแถวนี้จะไม่สามารถใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ได้ เพราะกลัวเงาะเปลือกแตก เงาะยิ้มทั้งสวน แต่ที่สวนสามารถใส่ได้ ไม่แตก จะเน้นการใช้ท็อปเอ็นและโบโรแคล และใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 15-0-0สร้างเปลือก ทำให้เงาะเปลือกหนา เหนียว และผลใหญ่ลูกโตเสมอ ได้น้ำหนักดี ขนยาวสีสวย
  • ระยะเก็บเกี่ยวไม่เน่าเสียง่าย
  • ในช่วงที่เงาะใกล้เก็บเกี่ยว สามารถถ่วงได้นานขึ้น โดยที่สีผิวของเงาะสีแดงสด ผิวไม่ดำคล้ำง่าย ปลายขนยังเขียวสดคุณภาพเนื้อเหมือนเดิม รสชาติยังคงเดิม
สนใจสั่งซื้อปุ๋ยกิฟฟารีน  
ลงทะเบียนสมัครสมาชิก ตลอดชีพ 
รับส่วนลด 25%ทันที & Cashback